เพื่อลดปัญหา ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมและการขนส่งที่ล่าช้า สยามชิปปิ้งให้บริการดูแลในเรื่องการตรวจภาษีไม่ว่าจะเป็นทั้งการนำเข้าและส่งออก การประสานงานกับหน่วยงานด้านนี้ของเราจะช่วยให้ท่านประหยัดเวลา ค่าใช้จ่ายและยังลดปัญหาต่างๆ

ผู้เชี่ยวชาญของเราวิเคราะห์แจกแจงทุกกรณีในทุกๆความต้องการและตัดสินใจว่าควรดำเนินการอย่างไรในการที่จะให้บริการที่รวดเร็วและมีคุณภาพต่อทุกกลุ่มลูกค้า

Siam Shipping คิดเสมอในเรื่องอุปสรรคของการผ่านการตรวจสอบศุลกากรสำหรับลูกค้าบางท่าน และนั่นคือเหตุผลที่เราพยายามลดค่าใช้จ่ายของท่านในส่วนนี้

เราตระหนักในเรื่องของกฎหมายไทยและใส่ใจในทุกๆเอกสารสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมของศุลกากรในส่วนท้องถิ่น ในทางกลับกันเรายังเป็นผู้ให้คำปรึกษา และแนะนำลูกค้าทุกท่านในแต่ละลำดับขั้นตอนของพิธีศุลกากรกับสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ ลำดับขั้นตอนของการนำเข้าและส่งออกไม่ใช่เรื่องง่าย นั่นคือเหตุผลที่เราต้องติดตามทุกๆลำดับขั้นตอนในการขนส่ง

 ทำอย่างไรที่จะนำสินค้าเข้ามาในประเทศไทย

ถ้าท่านจะนำสินค้าเข้าเป็นครั้งแรก เราจะลงทะเบียนบริษัทของท่านกับเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในประเทศไทย เมื่อบริษัทได้รับการยอมรับแล้ว จะต้องลงทะเบียนภาษีและบัญชีธนาคาร ท่านสามารถดำเนินการขอใบอนุญาติให้นำเข้าและส่งออก (ลายเซ็นต์) ใบอนุญาตินี้จะมีตัวเลขให้ท่านทราบว่าท่านอยากจะนำเข้าหรือส่งออกสินค้าในประเทศไทย ท่านจะต้องกรอกฟอร์มและเตรียมเอกสารสำหรับศุลกากรซึึ่งการดำเนินการใช้เวลาไม่เกิน 1 วัน หลังจากนั้นท่านจะได้รับลายเซ็นต์ที่จะทำให้ท่านสามารถนำเข้าหรือส่งออกสินค้าได้

เอกสารที่ต้องใช้

1. KSK ฟอร์ม เฉพาะหน้า 1 และ 2
2. สำเนาให้การของบริษัท ไม่เกินหกเดือนย้อนหลัง
3. สำเนาใบรับรองการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวน 2 แผ่น(PP20)
4.หน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากและเสตทเมนท์
5.การลงทะเบียนตราประทับ (BAJ 3)
6.(passport)สำเนาหนังสือเดินทาง
7.หนังสือมอบอำนาจ (หน้า 3 ของ KSK 1)

ในการขนส่งครั้งแรกเราจะลงทะเบียนบริษัทของท่าน (ลงทะเบียนแบบไม่มีเอกสาร)

จะคำนวนภาษีอย่างไร

เรทของภาษี
ในประเทศไทย ค่าใช้จ่าย ประกันและขนส่ง จะเป็นสิ่งที่ใช้ในการคาดเดาราคาของสินค้านำเข้า  การคำนวนภาษีขึ้นอยู่กับ
1. ค่าของสินค้า
2. การขนส่ง
3. ประกัน
4. ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของ CIF(cost insurrance and freight)

CIF นี่แหละเป็นตัวกำหนดว่าควรจ่ายภาษีเท่าไร ภาษีจะอยู่ระหว่าง 0%-80% เมื่อเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 21% สินค้าบางตัวก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับภาษี เช่น โน๊ตบุค อุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด และสินค้าที่มีราคาไม่เกิน 30 ดอลลาร์สหรัฐ ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี
ท่านสามารถตรวจสอบราคาภาษีที่ต้องชำระได้ที่ official Duty Rate Assessment tool และเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการประเมินราคาภาษีตรวจสอบได้ที่ this duty rate calculator เมื่อท่านส่งสินค้าไม่ว่าจะเป็นผ่านทางบริการรับส่ง FedEx, DHL หรือว่า UPS ท่านจะต้องชำระภาษีล่วงหน้าอยู่แล้ว บริการจัดส่งเหล่านี้แน่นอนจะส่งต่อไปให้ศุลกากรไทยดำเนินการต่อ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษี

ถึงแม้ว่าท่านจะประเมินราคาของสินค้าเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อถึงมือศุลกากรเขาก็จะประเมินราคาขึ้นสูงกว่า เช่น ท่านอยากจัดส่งจักรยานมาที่ไทยและประเมินราคาอยู่ที่ 50 เหรียญสหรัฐ แต่คัสตอมอาจประเมิน $100 หรือ $150 นี่เป็นเรื่องปกติและวิธีการป้องกันก็มีไม่มากนัก บางท่านอาจแสดงใบเสร็จรับเงินของราคาจริง หรือเอกสารต่างๆที่เกียวข้อง เพื่อลดปัญหาการประเมินราคาเกิน

เป็นเรื่องง่ายที่ท่านจะสามารถเจอเรื่องราวที่ไม่ดีเกี่ยวกับศุลกากรไทย มีการแจ้งของหายหรือบางครั้งของติดอยู่ที่ศุลกากรเป็นเวลานานมาก ท่านอาจเคยเจอเรื่องราวเกี่ยวกับศุลกากรใช้ของที่ส่งเพื่ออำนาจในการเรียกภาษีเพิ่ม หรือเรียกค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น

การติดสินบนและคอรัปชั่นมีอยู่แพร่หลาย ท่านอาจเสียภาษีใต้โต๊ะ 50% โดยที่ไม่มีเอกสารรับรองหรือใบเสร็จใดๆ สถานการณ์แบบนี้จะเกิดขึ้นได้เป็นบางที่ เราจึงแนะนำให้ท่านเก็บทุกๆใบเสร็จและเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เผื่อมีการเรียกตรวจ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)  Value Added Tax ซึ่งก็คือภาษีมูลค่าเพิ่มนั่นเอง ปัจจุบันนี้จะต้องชำระภาษี 7% ภาษีจะคำนวนจากมูลค่าของค่าใช้จ่าย ประกัน และค่าขนส่ง เมื่อมีการเพิ่มราคาภาษีเข้าไปราคาของสินค้าก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย ในส่วนของแอลกอฮอล เครื่องดื่มและอาหาร อาจจะต้องชำระภาษีถึง 10%

ควรจ่ายเงินให้กับตัวแทนขนส่งหรือพิธีศุลการกรหรือไม่

ส่วนใหญ่แล้วเราจะเตรียมแบบฟอร์มให้ท่าน จากตัวอย่างด้านล่าง
*table
แบบฟอร์มนี้สามารถใช้แทนใบเสร็จ และท่านจะต้องมีการชำระเงินเรียบร้อยแล้วก่อนส่งสินค้า หากท่านชำระกับเราโดยตรงจะเป็นวิธีที่ง่ายและช่วยประหยัดเวลาที่สุด เพราะเรารู้ว่าเวลาคือเงิน

เราสามารถประมาณสินค้าเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้หรือไม่

ตุลาการ
ถ้าไม่มีการตกลงเรื่องราคา อธิบดีต้องยอมรับสินค้านั้นหรือไม่ก็ต้องสินค้าซื้อทั้งหมดหรือแค่บางส่วน หรืออีกอย่างหนึ่งคือเขาสามารถนำเสนอตุลากรให้แก้ปัยหาการตกลงราคา จำนวนของตุลากรแต่ละผ่ายต้องเท่ากันแต่ฝั่งละสองคน และถ้าหากว่าทั้งสองฝ่ายนี้เจรจากันแล้วแต่ยังไมมีข้อตกลงใดๆทั้งสิ้นผู้มีอำนาจต้องเป็นผู้ตัดสินการดำเนินการ

ศุลกากรจะต้องเป็นผู้จัดการกระบวนการดำเนินงานทั้งหลาย เช่น การคำนวนน้ำหนัก ภาษี และอื่นๆ

เมื่อการขนส่งถูกตรวจสอบจากศุลกากรแล้วจะมีผลอย่างไร

การที่สินค้าถูกศุลกากรเลือกตรวจสอบก็ยังเป็นเรื่องที่น่าสงสัยอยู่ และยังไม่มีกฏเกณฑ์การตรวจสอบที่แน่นอน สันนิษฐานว่าทุกสินค้ามีความเลี่ยงเมื่อเข้ามาถึงประเทศไทยแต่เราก็ยังไม่รู้ว่าจะคำนวนความเสี่ยงอย่างไร

“กฏหมายได้ชี้แจงแจ่มแจ้ง: ศุลกากรไทยมีสิทธิเต็มที่ในการเลือกสินค้าขึ้นมาตรวจสอบ”
อย่างไรก็ตาม TCA จะเป็นคนแจ้งเอเจ้นท์ของท่านว่าเขาเองจะเป็นคนแนะนำ “manifest hold” ข่าวดีก็คือ Siam Shipping มีประสบการณ์หลายปีในด้านนี้เราจึงสามารถแนะนำท่านถึงสิ่งที่อาจเกิดขึ้นล่วงหน้าได้ นอกจากนี้แล้ว Siam Shipping ยังได้รับประกาศนียาบัตรจาก TIFFA ท่านมั่นใจได้เลยว่าสินค้าของท่านจะได้รับการดูแลและตรวจสอบก่อนสินค้าอื่นๆที่ไม่ได้รับ certificate

เหตุผลที่สินค้าของท่านอาจจะเกิดปัญหากับทางศุลกากร

1. การสุ่มตรวจสอบเฉพาะสินค้าบางตัว
สินค้าของท่านอาจมีการสุ่มตรวจสอบแบบไม่มีเหตุผล ศุลกากรอาจเลือกส่วนๆหนึ่งของสินค้าที่นำเข้าตรวจตามอำเภอใจ การตรวจมีหลายวิธี เช่น VACIS (ผ่านเครื่องเอกส์เรย์) ตรวจจากรถกระบะขนส่งสินค้า ตรวจแต่บางส่วนหรืออาจตรวจสอบทั้งหมด

2.ประเภทของสินค้า
การตรวจสอบเพิ่มเติมขึ้นอยู่กันสินค้าที่นำเข้าด้วย ตัวอย่างเช่น สิ้นค้าเภสัชกรรม และ สารเคมีที่ใช้ในแลปทดลอง ตรวจสอบเพื่อความมั่นใจว่าสินค้าเหล่านี้ถูกจัดไว้ในหมวดหมู่ที่ถูกต้อง FDA สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุสสาหกรรม รวมทั้งหน่วยราชการอื่นๆจะต้องตรวจสอบสินค้าที่สามารถเน่าเปื่อยและผลิตภันณ์จากสัตว์

3. แหล่งที่มาของสินค้า มาจากประเทศอะไร
ประเทศที่ผลิตสินค้าเป็นสิ่งสำคัญและมีเปอร์เซนต์ที่จะโดนเรียกตรวจสูง ถ้าสินค้าของท่านมาจากประเทศโคลัมเบียหรือประเทศที่โดนแบลคลิสท์โอกาศที่ศุลกากรจะเรียกตรวจนั้นสูงมาก เช่นกันอย่าลืมว่ายังมีหลายประเทศที่มีคำสั่งงดซื้อขายระหว่างประเทศ เช่น ประเทศยูเครน คิวบา อิหร่าน เกาหลีเหนีอ ซูดานและซีเรีย 

4.ผู้จัดส่งที่ถูกตั้งค่าสถานะ

ผู้นำเข้าสินค้าเข้ามาประเทศไทย ทุกคนจะต้องมีข้อมูลในฐานข้อมูลของ TCA หากผู้นำเข้าสินค้าไม่มีข้อมูลในฐานข้อมูลหรือไม่ได้รับการตรวจสอบมาก่อน เช่น ผู้ที่มี HS code และจ่ายภาษีให้กับทางรัฐบาลเพียงน้อยนิด ผู้นำเข้าสินค้าจะถูกจับกุมและนำตัวไปสอบสวน ด้วยเหตุผลนั้น จึงต้องมีการเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนของการทุ่มตลาด นอกจากจะต้องจำระภาษีปกติ ยังต้องชำระค่าธรรมเนียมนี้ด้วย เช่น จีน หรือ และบางผู้นำเข้าสินค้ารวมถึงบางโรงงานด้วย

5. ผู้นำเข้าที่ถูกตั้งค่าสถานะ
เช่นกันกับผู้นำเข้า ถ้าท่านเคยมีประวัติที่่ไม่ดีแล้วแน่นอนเลยว่ารอบต่อๆไปสินค้าของท่านก็จะมีการตรวจตราทุกครั้ง และถ้าเป็นผู้นำเข้าสินค้าเป็นครั้งแรกจะโดนเรียกตรวจจนกว่าสินค้านั้นจะได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าที่ถูกต้องตามกฏหมาย

ทั้งหมดนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้ศุลกากรต้องดำเนินการตรวจ
การเคลียร์สินค้าคล้ายกันหรือไม่ทั้งในท่าเรือและสนามบิน
การปฏิบัติจะคล้ายๆกัน Siam Shipping มีพนักงานบริการลูกค้าที่สนามบินสุวรรณภูมิและพวกเขาสามารถเคลียร์สินค้าทุกชนิดภายใน 24 ชั่วโมงตั้งแต่ตอนสินค้ามาถึงและต้องเป็นในกรณีที่เอกสารถูกต้องครบถ้วน

6. สินค้าต้องห้ามในประเทศไทย

การขนส่งระหว่างต่างประเทศจะมีกำหนดข้อต้องห้ามและหลักเกณ์ของสินค้าที่สำคัญนั้นๆ แต่สุดท้ายแล้วศุลกากรก็เป็นผู้ตัดสินใจอยู่ดีว่าสินค้านั้นๆสามารถนำเข้ามาในประเทศไทยได้หรือไม่ ท่านสามารถเช็คเงื่อนไขการนำสิ้นค้าได้จากตัวแทนรับเข้า ส่งออกของท่านแต่เมื่อเช็คแล้วควรจะเปรียบเทียบเงื่อนไขทั้งหมดกับทางสนามบินและศุลกากร

สินค้าดังต่อไปนี้ต้องได้รับการอนุญาติจากสำนักงานรัฐบาลบางสำนักงานจึงจะสามารถผ่านการตรวจตราของศุลกากร

Fine art department เช่น รูปพระพุทธเจ้า วัตถุโบราณ

Post&Telegraph Department เช่น วิทยุรับส่ง อุปกรณ์โทรคมนาคม

Department of Agriculture เช่น พืช และ อุปกรณ์การเพาะปลูก 

Department of Live Stock Development เช่น สัตว์มีชีวิต และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสัตว์

Office of Food and Drugs Administration เช่น ยารักษาโรค และผลิตภัณฑ์เคมี-

General Restriction (สิ่งต้องห้ามทั่วไป) Tobacco (ยาสูบ) เนื้อ และ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อ
 เมล็ดพืชทุกชนิด ใบชาแห้ง-ยาเสพติดที่ไม่ใช่ใบสั่งยา บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์-บารากุ, ชิชา, มอระกู่ (ท่อน้ำ) วัตถุลามกอนาจาร (วรรณคดี, รูปภาพ) สื่อลามกอนาจาร สินค้าที่มีธงชาติไทย ยาเสพติด (กัญชาป่านฝิ่นโคเคนมอร์ฟีนเฮโรอีนและอื่น ๆ ) สกุลเงินปลอมพันธบัตรหรือเหรียญ   ตราหลวงและประทับตราต่างๆในทางราชการ สิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา (IPR) สินค้าเครื่องหมายการค้าปลอม ของเล่นทางเพศ (ทุกชนิด) รูปภาพ แกะสลัก (ไอดอลทางศาสนา)